วิทยาการระบาด ของ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

ผลกระทบของเดลตา*
(อัปเดตของ WHO, 20 กค. 2021[27])
การแพร่เชื้อ เพิ่มการแพร่เชื้อและการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[upper-alpha 1]
ศักยภาพก่อโรค เพิ่มความเสี่ยงต้องเข้า รพ.
การติดเชื้อซ้ำ ลดระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์
การวินิจฉัย ยังไม่มีรายงานว่ามีผล
*เป็นผลทั่วไปที่พบเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น อาศัยหลักฐานรวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน

การแพร่เชื้อ

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ระบุว่า เดลตาแพร่เชื้อได้ยิ่งกว่าอัลฟาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักมาก่อนถึง 40-60%[77]เพราะอัลฟาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอยู่แล้ว[77]และถ้าเดลตาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับอัลฟา เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อได้ 225% เทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[78]

ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน ( R 0 {\displaystyle R_{0}} ) หมายถึงจำนวนคนที่ติดเชื้อจากคนเดียว ๆ ภายในกลุ่มที่ทุกคนเสี่ยงติดเชื้อ บีบีซีรายงานว่า R 0 {\displaystyle R_{0}} ของสายพันธุ์อู่ฮั่นอยู่ที่ 2.4-2.6 ของอัลฟาที่ 4-5 และของเดลตาที่ 5-8[79]นี่เปรียบเทียบกับโรคเมอร์ส (0.29-0.80[80])ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (1.2-1.4[81])อีโบลา (1.4-1.8[82])หวัดธรรมดา (2-3[83])ซาร์ส (2-4[84])ฝีดาษ (3.5-6[85])และอีสุกอีใส (10-12[86])เอกสารภายในของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้มาระบุว่า เดลตาระบาดได้เท่ากับอีสุกอีใส ระบาดได้น้อยกว่าโรคที่กล่าวมาก่อนที่เหลือ แต่ระบาดได้น้อยกว่าโรคหัด (12-18[87][88])โดยระบุว่า R 0 {\displaystyle R_{0}} ของเดลตาอยู่ระหว่าง 5-9.5[89]

งานศึกษาหนึ่ง[90]ที่ตีพิมพ์ออนไลน์โดยไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมณฑลกวางตุ้ง อาจจะอธิบายการเพิ่มแพร่เชื้อได้เป็นบางส่วน คือ

  1. คนที่ติดเชื้อเดลตามีจำนวนไวรัสเป็นพันเท่าในทางเดินหายใจมากกว่าคนที่ติดเชื้ออู่ฮั่น
  2. คนที่ติดเชื้อเดลตาใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 วันจึงจะตรวจพบไวรัสได้เทียบกับ 6 วันสำหรับสายพันธุ์อู่ฮั่น[91][92]

ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลสหรัฐ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์แสดงว่า จำนวนการติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าทุก ๆ 2 สัปดาห์เทียบกับอัลฟา[93][94][95]

สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอินเดีย สหราชอาณาจักร[96]โปรตุเกส[97]รัสเซีย[98]เม็กซิโก ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย[99]แอฟริกาใต้ เยอรมนี[100]ลักเซมเบิร์ก[101]สหรัฐ[102]เนเธอร์แลนด์[103]เดนมาร์ก[104]ฝรั่งเศส[105]และไทย[106]ปกติการรายงานสายพันธุ์โรคจะช้ากว่าการรายงานจำนวนคนติดโรคโดยช้ากว่าประมาณ 3 สัปดาห์

จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2021 มีประเทศ 124 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27]โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโควิดในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้วก็เป็นได้[28][29]

กลุ่มอายุผู้ติดเชื้อ

ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลอินเดีย (IDSP) พบว่า คนไข้ 32% ทั้งที่เข้า รพ. และไม่เข้า รพ. มีอายุน้อยกว่า 30 ปีในการระบาดระลอกที่ 2 เทียบกับ 31% ในระลอกแรก ส่วนสัดส่วนของคนอายุระหว่าง 30-40 ปีคงที่โดยอยู่ที่ 21%การเข้า รพ. ของผู้อายุ 20-39 ปีเพิ่มเป็น 25.5% จาก 23.7% และอายุ 0-19 ปีเพิ่มเป็น 5.8% จาก 4.2%ข้อมูลยังแสดงด้วยว่า มีคนไข้ที่ไม่แสดงอาการในอัตราส่วนสูงกว่าที่เข้า รพ. และมีอัตราสูงกว่าที่ระบุว่าหายใจไม่ออกดังนั้น แม้คนอายุน้อยจะติดโรคในสัดส่วนเท่ากับระลอกแรก แต่ก็ป่วยหนักกว่า[107]

ศักยภาพก่อโรค

ในวันที่ 7 มิถุนายน 2021 นักวิจัยสิงค์โปร์ได้เผยแพร่ผลงานที่แสดงนัยว่า คนไข้ที่ตรวจพบเชื้อเดลตามีโอกาสเกิดปอดบวมและ/หรือจำเป็นต้องให้ออกซิเจนยิ่งกว่าคนไข้สายพันธุ์ดั้งเดิมหรืออัลฟา[108]

วันที่ 11 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานว่ามีความเสี่ยงเข้า รพ. เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในการติดเชื้อเดลตาเทียบกับอัลฟา[109]วันที่ 14 มิถุนายนต่อมา นักวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขสกอตแลนด์ก็ระบุว่า ความเสี่ยงเข้า รพ. ของผู้ติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเทียบกับอัลฟา[110]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2021 งานศึกษาของกลุ่มนักวิทยาการระบาดในแคนาดาที่กำลังรอการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันพบว่า เดลตามีความเสี่ยงให้เข้า รพ. 120%, เข้าห้องไอซียู 287% และเสียชีวิต 137% เทียบกับสายพันธุ์โควิดที่ไม่น่าเป็นห่วงอื่น ๆ[111]

ใกล้เคียง

ไวรัส ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ไวรัสอาร์เอสวี ไวรัสโคโรนา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสซิกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา http://www.theguardian.com/us-news/2021/jul/22/us-... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/02/we-ar... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/04/healt... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11742399 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17634159 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26132768 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28166851 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28757186 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30560777 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32044814